อุดฟัน
อุดฟันคืออะไร?
การอุดฟัน คือ วิธีแทนที่ฟันที่เสียหายหรือผุด้วยการเติมวัสดุทางทันตกรรม เพื่อสร้างรูปร่างฟันขึ้นมาให้เป็นปกติ รวมทั้งทำให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
วัสดุแทนที่เนื้อฟันที่สูญหายไป หรือเรียกว่าวัสดุอุดฟัน อาจทำมาจาก ทอง คอมโพสิตเรซิ่น อมีลกัม หรือพอร์ซเลน
อะไรที่จะต้องเจอระหว่างการอุดฟัน? โดยทั่วไป ขั้นตอนจะเป็นตามนี้
- ป้ายยาชาเฉพาะที่เหงือกบริเวณฟันซี่ที่จะอุด หลังจากนั้นจะฉีดยาชาเฉพาะที่ตำแหน่งบริเวณที่มีการป้ายยาชา
- ทันตแพทย์จะเอาส่วนที่ผุทั้งหมดออก
- ช่องทั้งหมดจะถูกอุดปิดด้วยวัสดุอุดฟัน.
- วัสดุอุดฟันจะถูกขัดให้เรียบร้อย และเช็คความหนาของวัสดุอุดให้อยู่ในระดับที่ปกติ
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากอุดฟัน
หลังจากอุดฟัน บางครั้งอาจมีอาการเสียวฟันได้เมื่อเคี้ยวอาหาร หรือ ดื่มน้ำร้อน เย็น โดยเฉพาะ ถ้าขนาดวัสดุอุดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือลึกมาก โดยปกติแล้วอาการเสียวฟันถ้ามี อาการจะค่อยๆดีขึ้น ภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามถ้าอาการที่มีแย่ลงเรื่อยๆ แนะนำให้กลับมาให้ทันตแพทย์เช็คอาการโดยเร็วสุด
วัสดุอุดฟัน ชนิดทำในคลีนิก
1. คอมโพสิต: เป็นวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันที่ประกอบด้วยเรซิ่นและแก้ว คอมโพสิตเรซิ่น สามารถยึดติดกับผิวฟันได้ด้วยตัวเชื่อม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกไปเยอะ
ข้อดี:
- สวยงาม โดยเฉพาะในฟันหน้า.
- ไม่จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันเยอะ เพราะวัสดุสามารถยึดติดได้ด้วยบอนดิ่ง.
- สามารถซ่อมแซมฟันได้เฉพาะจุด โดยไม่ต้องกรอฟันบริเวณอื่น
- ราคาถูก
ข้อเสีย:
- ความทนทานน้อยกว่าทอง พอสเลน
- ไม่ทนต่อแรงบดเคี้ยว แตกง่ายขึ้นในฟันที่ต้องอุดด้วยวัสดุขนาดใหญ่.
- ใช้เวลาทำนาน.
- ห้ามโดนน้ำระหว่างอุด
- บิ่นแตกง่าย
2. อมัลกัม คือวัสดุอุดฟันสีเงิน มีความแข็งแรง มีส่วนผสมของปรอท จึงมักไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน
ข้อดี:
- แข็งแรง อยู่ได้นาน.
- ไม่สึกกร่อน.
ข้อเสีย:
- สีโลหะ ไม่สวยงาม
- มีส่วนผสมของปรอท
วัสดุอุดฟัน ชนิดทำจากแลปทันตกรรม
วัสดุเหล่านี้ ขึ้นรูปจาก เซรามิค, โลหะ หรือ เซรามิคผสมเรซิ่น ต้องให้แลปทันตกรรมขึ้นรูปวัสดุให้พอดีกับเนื้อฟันส่วนที่สูญเสียไป จากในห้องแลป ดังนั้นปกติแล้ว การอุดฟันวิธีนี้ต้องมาอย่างน้อย 2 ครั้ง การอุดฟันวิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเนื้อฟันมีการสูญเสียมากเกินกว่าที่วัสดุอุดฟันโดยตรงในปากจะใช้ได้ แต่ยังไม่สูญเสียมากพอ ที่จะทำครอบฟัน
วัสดุอุดฟันขึ้นรูปจากแลปทันตกรรม มี 2 ชนิดดังนี้ : inlays และ onlays
- Inlays จะคล้ายๆวัสดุอุดฟันในปากโดยตรง แต่ตัววัสดุจะคลอบคลุมภายในส่วนยอดแหลมของฟัน
- Onlays จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า inlays, โดยจะคลอบคลุมยอดแหลมของฟันอย่างน้อย 1 อัน ดังนั้นบางครั้งอาจเรียกว่าครอบฟันบางส่วน.
ข้อดี:
- ทนทานกว่าวัสดุอุดทั่วไป ไม่สึกกร่อน แข็งแรง อยู่ได้นาน
- วัสดุอุดสามารถทำให้มีรูปร่างที่ดีกว่า
ข้อเสีย:
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่า
- จำนวนครั้งในการรับการรักษาอาจมากกว่า 1 ครั้ง.